การทำความสะอาดมีความสำคัญอย่างไร ?

ความสำคัญของทำความสะอาด
เนื่องจากสภาพอากาศปัจจุบัน ได้พบว่า มีฝุ่น ผงที่ฟุ้งกระจายอยู่ทั่วไป อีกทั้งการติดนิสัยที่ทิ้งสิ่งของไม่เป็นที่ ทำให้บรรยากาศรอบๆตัว ไม่ค่อยน่ารื่นรมย์เท่าไหร่นักในหลายๆครั้ง ที่เรามีการรณรงค์ เรื่องการทำความสะอาด และการทิ้งขยะให้เป็นที่เป็นทาง แต่เมื่อโครงการนั้นๆ จบลง พฤติกรรมของผู้คนก็กลับมาเหมือนเดิม ทั้งที่ถังขยะ ก็มีวางกระจายอยู่ตามพื้นที่ ต่างๆ ให้เห็นชัดเจน
การทำความสะอาดอย่างถูกวิธี และชีวิตปลอดภัยหลายๆท่าน มักซื้อน้ำยาทำความสะอาด วัสดุ อุปกรณ์ต่างๆ ซึ่ง ดร. มิซาเอล โอร์เทล แพทย์อายุรกรรมทั่วไปจากสมาคมแพทย์ MEDI ในประเทศเยอรมนี ได้กล่าวว่า การใช้สารเคมีแรงๆ สารเคมีของการทำความสะอาด มีอันตราย เพราะมันอาจก่อให้เกิด โรคภูมิแพ้ ผิวหนังเปลี่ยนไป ทำให้เกิดผื่นคัน หรือร้ายแรงสุดอาจก่อให้เกิดโรงมะเร็งได้ ซึ่งมีผลมากกับบุคคลที่มีสุขภาพอ่อนแอ จึงแนะนำว่าควรเลือกใช้น้ำยาทำความสะอาดแบบไหน ควรเลือกใช้น้ำยาให้เหมาะสมกับวัสดุที่ต้องการล้าง และน้ำยาที่เลือกใช้ต้องไม่ทำลายสภาพผิวเดิมของวัสดุนั้นๆ และสามารถทำความสะอาดได้ด้วยตัวของสารเคมีนั้นๆเอง ทำความสะอาดอย่างไรให้ถูกต้อง ควรใช้น้ำยาทำความสะอาด ที่ไม่มีส่วนผสมของสารก่อมะเร็ง ไม่ทำร้ายสุขภาพ หรือควรสวมอุปกรณ์ป้องกันทุกครั้งที่ใช้งาน การใช้น้ำยาที่มีสารเคมีรุนแรงจะเป็นอย่างไง ควรศึกษาวิธีการใช้ให้ดีก่อน รวมถึงการจัดเก็บด้วย ควรสวมอุปกรณ์ป้องกันทุกครั้งที่สัมผัส เช่น ถุงมือกันสารเคมี หน้ากากอนามัย เครื่องมือดูดกลิ่น แว่นตากันสารเคมี เป็นต้น หากสัมผัสโดยตรง ควรทำความสะอาดตามวิธีการของสารนั้นๆ

 

ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการเก็บน้ำยาเคมีอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการทำความสะอาด
เป็นที่ทราบกันแล้วว่าสารเคมีถูกจำแนกออกเป็น 9 ประเภท ซึ่งในแต่ละประเภท มีคุณสมบัติที่แตกต่างกันสารเคมีบางชนิดมีอันตรายเนื่องจากคุณสมบัติของสารนั้นเอง ในขณะที่สารบางอย่างเมื่อยู่ตามลำพังไม่มีพิษภัยใดๆ แต่เมื่อปนอยู่กับสารเคมีอื่นๆจะทำให้เกิดอันตรายขึ้นได้ การจัดเก็บสารเคมีมากมายหลายวิธี วิธีที่สะดวกและมีผู้ใช้กันมากที่สุดคือ เรียงตามตัวอักษร แต่การจัดแบบดังกล่าวอาจทำให้สารที่ไม่ควรอยู่ใกล้กันมาเก็บไว้ด้วยกัน ซึ่งอาจเกิดระเบิดหรือปล่อยก๊าซพิษออกมาเมื่อไรก็ได้ ดังนั้นวิธีเก็บสารเคมีโดยรียงตามลำดับตัวอักษร จึงไม่ใช่วิธีการเก็บสารเคมีที่ปลอดภัย อีกวิธีหนึ่งคือ การจัดสารเคมีที่ดับเพลิงโดยวิธีเดียวกันไว้ด้วยกัน เพื่อสะดวกในการใช้เครื่องดับเพลิงเวลาเกิดไฟไหม้ แต่ก็เช่นเดียวกันกับแบบแรกคือจะทำให้สารที่เข้ากันไม่ได้มาอยู่ใกล้กันวิธีที่ดีที่สุด คือการจัดกลุ่มสารเคมีการทำความสะอาดตามความว่องไวต่อปฏิกิริยา และกำหนดให้สารที่เข้ากันไม่ได้ วางแยกเก็บให้ห่างจากกันอย่างเด็ดขาด สารเคมีหลายพันชนิดที่ใช้กันอยู่อาจแบ่งได้เป็น 6 กลุ่มคือ

– สารไวไฟ (flammable chemicals)

– สารระเบิดได้ (explosive chemicals)

– สารเป็นพิษ (toxic chemicals)

– สารกัดกร่อน (corrosive chemicals)

– สารกัมมันตรังสี (radioactive chemicals)

– สารที่เข้าไม่ได้ (incompatible chemicals)

 

ปกติแล้วการเก็บสารเคมีทุกชนิด จะมีหลักการทั่วๆไป ดังนี้
1. สถานที่เก็บสารควรเป็นสถานที่ปิดมิดชิด อยู่ภายนอกอาคาร ฝาผนังควรทำด้วยสารทนไฟ (กันไฟ) ปิดล็อคได้
และมี ป้ายบอกอย่างชัดเจนว่า “สถานที่เก็บสารเคมี”
2. ภายในสถานที่เก็บสารเคมี ควรมีอากาศเย็นและแห้ง มีระบบถ่ายเทอากาศที่ดี และแดดส่องไม่ถึง
3. ชั้นวางสารเคมีภายในสถานที่เก็บสารเคมีต้องมั่นคง แข็งแรง ไม่มีการสั่นสะเทือน
4. ภาชนะที่บรรจุสารเคมี ต้องมีป้ายชื่อที่ทนทานคิดอยู่พร้อมทั้งบอกอันตรายและข้อควรระวังต่างๆ
5. ภาชนะที่ใส่ต้องทนทานต่อความดัน การสึกกร่อนและแรงกระแทกจากภายนอก ควรมีภาชนะสำรอง ในกรณีที่
เกิดการแตกหรือภาชนะรั่วจะได้เปลี่ยนได้ทันที
6. ภาชนะเก็บสารที่ใหญ่และหนักไม่ควรเก็บในที่สูง เพื่อจะได้สะดวกในการหยิบใช้
7. ขวดไม่ควรวางบนพื้นโดยตรง หรือไม่ควรวางช้อนบนขวดอื่นๆ และมีระยะห่างกันพอสมควรระหว่างชั้น
ที่เก็บสาร ไม่ควรวางสารตรงทางแคบ หรือใกล้ประตูหรือหน้าต่าง
8. ควรเก็บสารตามลำดับการเข้ามาก่อนหลัง และต้องใช้ก่อนหมดอายุ ถ้าหมดอายุแล้วต้องทำลายทันที ห้ามใช้
โดยเด็ดขาด
9. ควรแยกเก็บสารเคมีทำความสะอาดในปริมาณน้อยๆ โดยใช้ภาชนะบรรจุขนาดเล็ก บริเวณที่เก็บสารควรรักษาความสะอาด
และให้มีความเป็นระเบียบเรียบร้อยอย่างสม่ำเสมอ และมีการจัดเรียงอย่างมีระบบ
10. ต้องมีอุปกรณ์ดับเพลิง อุปกรณ์ป้องกันภัย และเครื่องปฐมพยาบาลพร้อมในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินโดยทั่วไป เมื่อทราบคุณสมบัติของสารเคมีทำความสะอาดแล้วก็สามารถกำหนดได้ว่าจะเป็นสารอย่างไร ตัวอย่างเช่น ของเหลวที่มีจุดเยือกแข็งต่ำๆ จะต้องเก็บที่อุณหภูมิสูงกว่านั้น เพราะเมื่อสารนั้นแข็งตัว ปริมาตรจะเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจจะทำให้ขวดแตกได้ และที่อันตรายมากคือสารบางประเภทต้องใช้ตัวยับยั้ง (inhibitor) ใส่ไว้เพื่อป้องกันไม่ให้สารนั้นระเบิด ถ้าสารแข็งตัวแยกตัวจากตัวยับยั้งมาเป็นสารบริสุทธิ์ เมื่อสารนั้นหลอมเหลวอีกครั้งหนึ่งจะเกิดระเบิดได้ เช่น acrylic acidนอกจากการพิจารณาเก็บสารเคมีทำความสะอาดตามความไวในปฏิกิริยาแล้ว ยังต้องพิจารณาถึงการเข้ากันไม่ได้ของสารเคมีเช่น galcial acetic acid เป็นสารเคมีที่จุดติดไฟและระเบิดได้เมื่อถูกสัมผัสกับ oxidizing acid เช่น nitric acid, perchloric acid หรือ sulfuric acid เข้มข้น เพราะฉะนั้นควรเก็บ acetic acid ให้ห่างจากoxidizers ไม่ใช่กรดเหมือนกันจะเก็บด้วยกันได้มีสารเคมีทำความสะอาดหลายประเภทที่เราต้องเอาใจใส่เป็นพิเศษ ได้แก่ กรด (acid) ด่าง (bases) สารไวไฟ (flammables) ออกซิไดส์เซอร์ (oxidizers) สารที่ไวต่อน้ำ (water reactive chemicals) สารไพโรฟอริก (pyrophoric substances) สารที่ไวต่อแสง (light-sensitive chemicals) สารที่จะเกิดเปอร์ออกไซด์ได้ (peroxidizable compounds) และสารเป็นพิษ (toxic compounds) เป็นต้น และสารแต่ละประเภทมีวิธีการเก็บอย่างปลอดภัยตามคุณสมบัติของสารประเภทนั้นๆ

 

สารไวไฟ (flammable materials)

2

ปรกติการลุกไหม้เกิดขึ้นระหว่างออกซิเจนและเชื้อเพลิงในรูปที่เป็นไอ หรือละอองเล็กๆ ดังนั้น สารที่ระเหยได้ง่ายมีความดันไอสูงจะติดไฟได้ง่าย ละอองหรือฝุ่นของสารเคมีที่ไวไฟ ก็สามารถลุกติดไฟได้ง่ายพอๆกับสารที่เป็นก๊าซหรือไอ สารที่ลุกติดไฟได้ง่ายในสภาพอุณหภูมิและ ความดันปกติ จะถือว่าเป็นสารไวไฟ ตัวอย่างของสารเหล่านี้ ได้แก่ ผงละเอียดของโลหะไฮโดรของโบรอน ฟอสฟอรัส ของเหลวที่มีจุดวาบไฟต่ำกว่า 30 องศาเซลเซียส และก๊าซไวไฟต่างๆการเก็บ
– เก็บในที่เย็นอากาศถ่ายเทได้ และอยู่ห่างจากแหล่งจุดติดไฟ เช่น ความร้อน ประกายไฟหรือเปลวไฟ
– เก็บไว้ในภาชนะที่ปลอดภัย หรือตู้เก็บสารไวไฟซึ่งตรวจสอบดูแล้วว่าปลอดภัย ภาชนะที่เก็บต้องมีฝาปิดแน่น
ไม่ให้อากาศเข้าได้
– เก็บแยกจากสารพวก oxidizers สารที่ลุกติดไฟเองได้ สารที่ระเบิดได้และสารที่ทำปฏิกิริยากับอากาศหรือ
ความชื้น และให้ความร้อนออกมาเป็นจำนวนมาก
– มีป้ายห้ามสูบบุหรี่ หรือห้ามจุดไม้ขีดไฟ
– พื้นที่นั้นควรต่อสายไฟลงในดินเพื่อลดไฟฟ้าสถิตที่อาจเกิดขึ้นได้

สารเคมีทำความสะอาดที่เข้ากันไม่ได้ (incompatible materials)
สารที่เข้ากันไม่ได้ คือ สารที่เมื่อมาใกล้กันจะทำปฏิกิริยากันอย่างรุนแรง เกิดการระเบิด เกิดความร้อนหรือให้ก๊าซพิษออกมาได้ สารพวกนี้จะต้องเก็บแยกต่างหากห่างจากกันมากที่สุด เช่น การเก็บสารที่ไวต่อน้ำ
– ต้องเก็บในที่อากาศเย็นและแห้ง ห่างไกลจากน้ำ
– เตรียมเครื่องดับเพลิง class D ไว้ในกรณีเกิดไฟไหม้ oxidizers
– เก็บห่างจากเชื้อเพลิง และวัสดุติดไฟได้
– เก็บห่างจาก reducing agents เช่น zinc, alkaline metal หรือ formic acid

สารเคมีทำความสะอาดเป็นพิษ (toxic hazards)

3 (2)
สารเป็นพิษ (toxic chemicals) คือ สารซึ่งจะเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตไม่ว่าจะอยู่ในสภาวะใดๆ ซึ่งทั้งนี้จะรวมถึงการเก็บสารกัมมันตรังสี (radioactive) ด้วย
– ภาชนะต้องปิดฝาสนิท อากาศเข้าไม่ได้
– ห่างจากแหล่งจุดติดไฟ
– ต้องมีการตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอ ทั้งภาชนะที่เก็บและบริเวณที่เก็บสารนั้นๆ
– สารที่ไวต่อแสง ต้องเก็บไว้ในขวดสีชา ในสถานที่เย็น แห้งและมืด

สารกัดกร่อน (corrosive materials)

4

สารกัดกร่อนจะรวมถึง กรด acid anhydride และ ด่าง สารพวกนี้มักจะทำลายภาชนะที่บรรจุและออกมายังบรรยากาศภายนอกได้ บางตัวระเหยได้บางตัวทำปฏิกิริยารุนแรงกับความชื้น
– เก็บในที่เย็น แต่ต้องสูงกว่าจุดเยือกแข็ง
– ต้องใช้ถุงมือ สวมแว่นตา ฯลฯ เมื่อใช้สารพวกนี้
– ต้องเก็บกรดแยกห่างจากโลหะที่ไวในการทำปฏิกิริยา เช่น sodium, potassium และ magnesium
– ด่างต้องแยกเก็บจากกรดและสารอื่นๆ ที่ไวต่อการทำปฏิกิริยา

สารระเบิดได้ (explosives)

 

5

คือสารซึ่งที่อุณหภูมิหนึ่งๆจะเกิดการ decompose อย่างรวดเร็ว เมื่อเกิดการสั่นสะเทือนหรือเกิดปฏิกิริยารุนแรง จะให้ก๊าซออกมาจำนวนมาก รวมทั้งความร้อนด้วย ซึ่งทำให้อากาศรอบๆ ตัวเกิดการขยายตัวอย่างรวดเร็ว เป็นผลให้เกิดการระเบิดขึ้นได้
สิ่งที่มีผลต่อสารที่ระเบิดได้ คือ ความร้อนหรือเย็นจัดๆ อากาศแห้ง หรือขึ้นในการเก็บ ความไม่ระมัดระวังในการ handle ระยะเวลาในการเก็บ ระยะเวลาที่เอาออกมาจากภาชนะเริ่มแรกก่อนใช้
– เก็บห่างจากอาคารอื่นๆ
– มีการล๊อคอย่างแน่นหนา
– ไม่ควรเก็บในที่มีเชื้อเพลิง หรือสารที่ติดไฟได้ง่าย
– ต้องห่างเปลวไฟอย่างน้อย 20 ฟุต
– ไม่ควรมีชนวนระเบิด (detonators), เครื่องมือและสารอื่นๆอยู่ด้วย
– ไม่ควรซ้อนกันเกิน 6 ฟุต
– ต้องเคลื่อนย้ายด้วยความระมัดระวัง
– ห้ามไม่ให้ผู้อื่นเข้าไปในที่เก็บสารได้

ลักษณะโกดังเก็บสารเคมีทำความสะอาด
สถานที่ตั้ง
– สถานที่เก็บสารเคมีที่ดี ควรอยู่ห่างจากบริเวณที่มีประชาชนอยู่หนาแน่น ห่างไกลจากแหล่งน้ำดื่มห่างไกล จากบริเวณที่ น้ำท่วมถึง และห่างไกลจากแหล่งอันตรายอื่นๆ ที่อาจเกิดจาก ภายนอกโกดัง
– สถานที่ตั้งโกดัง ควรมีเส้นทางที่สะดวกแก่การขนส่ง และการจัดการ เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินต่างๆ
– มีสิ่งอำนวยความสะดวกอย่างเพียงพอ เช่น ระบบจ่ายไฟฉุกเฉิน ระบบดับเพลิงระบบระบายน้ำ ป้องกันการไหลของน้ำที่ปนเปื้อนสารเคมีเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะพร้อมระบบบำบัดน้ำเสีย เนื่องจากน้ำที่เกิดจากการดับเพลิง ก่อให้เกิดปัญหา สิ่งแวดล้อม
บริเวณโดยรอบ
– อาณาเขตบริเวณโดยรอบที่ตั้งต้องมีกำแพงหรือรั้วกั้นที่อยู่ในสภาพที่มั่นคงแข็งแรงและ สามารถบำรุงรักษา
ให้ดีอยู่เสมอได้ง่าย
– มีพื้นที่ว่างบริเวณแนวกำแพงหรือรั้ว สำหรับแยกเก็บสารเคมีที่หก รั่วไหลและเพื่อให้การปฏิบัติงานในการ
บรรเทา อันตรายจากสารเคมีที่หกรั่วไหลได้
– มียามรักษาการณ์ตรวจตราในเวลากลางคืนและจัดหาอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยไว้ เช่น ไฟสำหรับส่องรอบ
บริเวณแปลงสิ่งปลูกสร้าง
– แปลนสิ่งปลูกสร้างต้องออกแบบให้สามารถแยกเก็บสารที่เข้ากันไม่ได้ โดยการใช้อาคารแยกจากกัน
การใช้ผนังกันไฟ หรือการป้องกันอื่นๆ เช่น ออกแบบให้มีพื้นที่ว่างเพียงพอที่สามารถเคลื่อนย้าย ขนถ่าสาร
เคมีได้อย่างปลอดภัย
– อาคารเก็บสารเคมีแต่ละหลังต้องมีระยะห่างระหว่างกัน
– ทำเลที่ตั้งและอาคาร มีการป้องกันผู้บุกรุกโดยทำรั้วกั้น มีประตูเข้า-ออก พร้อมมาตรการป้องกัน
การลอบวางเพลิง

การออกแบบอาคารเก็บสารเคมีทำความสะอาด
แผนผังอาคารต้องออกแบบให้สอดคล้องกับชนิดของสารเคมีที่จะเก็บ ซึ่งมีการตระเตรียมในเรื่องทางออกฉุกเฉินอย่างเพียงพอ เนื้อที่และพื้นที่ของอาคารเก็บสารเคมีต้องถูกจำกัด โดยแบ่งออกเป็นห้องๆหรือเป็นสัดส่วน เพื่อเก็บสารอันตรายคนละประเภทและ สารอันตรายประเภทที่ไม่สามารถเก็บรวมกันได้อาคารต้องปิดมิดชิด และปิดล็อคได้ วัสดุก่อสร้างอาคารเป็นชนิดไม่ไวไฟ และโครงสร้างอาคารเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กหรือเหล็ก ถ้าเป็นโครงสร้างเหล็กต้องหุ้มด้วยฉนวนกันความร้อน

ผนังอาคาร
– ผนังด้านนอกต้องสร้างอย่างแข็งแรง และควรปิดด้วยเหล็กหรือแผ่นโลหะ เพื่อป้องกันไฟที่เกิดจาก

ภายนอกอาคาร
– ผนังด้านใน ออกแบบให้เป็นกำแพงกันไฟทนไฟได้นาน 60 นาที และมีความสูงขึ้นไปเหนือหลังคา 1 เมตร
หรือวิธีการอื่นๆที่สามารถป้องกันการลุลามของไฟได้
– วัสดุที่ใช้เป็นฉนวนของอาคารเป็นชนิดที่ไม่ติดไฟ เช่น เส้นใยโลหะ หรือใยแก้ว
– วัสดุที่เหมาะสมต่อการทนไฟ และมีคุณสมบัติแข็งแกร่งทนทาน คือ คอนกรีต อิฐ หรืออิฐบล๊อคคอนกรีต
เสริมเหล็ก ควรมีความหนาอย่างน้อย 15 ซม. หรือ 6 นิ้ว และกำแพงต้องหนาอย่าง น้อย 23 ซม. หรือ 9 นิ้ว จึงสามารถทนไฟ ถ้าเป็นอิฐกลวงไม่เหมาะสมที่จะใช้คอนกรีตธรรมดา ต้องมีความหนาอย่างน้อย 30 ซม. หรือ 12 นิ้ว เพื่อให้เกิดความแข็งแกร่งและทนทาน เพื่อให้โครงสร้างมั่นคงแข็งแรงต้องมี เสาคอนกรีตเสริมเหล็กในผนังกันไฟผนังกันไฟ ควรเป็นอิสระจากโครงสร้างอื่นๆเพื่อป้องกันการพังทลาย เมื่อเกิดเพลิงไหม้ การเดินท่อประปา ท่อร้อยสาย และการวางสายไฟผนังกันไฟ ต้องวางอยู่ในทรายเพื่อป้องกันไฟ
– พื้นอาคารต้องไม่ดูดซับของเหลว
– พื้นอาคารต้องเรียบ ไม่ลื่น ไม่มีรอยแตกร้าว ทำความสะอาดได้ง่าย
– พื้นอาคารต้องออกแบบให้สามารถเก็บกักสารเคมีที่หกรั่วไหล และน้ำจากการดับเพลิงได้ โดยวิธีการทำขอบธรณีประตูหรือขอบกั้นโดยรอบ

หลังคา
– หลังคาต้องกันฝนได้ และออกแบบให้มีการระบายควันและความร้อนได้ ในขณะเกิดเพลิงไหม้
– วัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างหลังคาไม่จำเป็นต้องใช้ชนิดป้องกันไฟพิเศษ แต่ก็ไม่ควรใช้ไม้ เพราะมีความเสี่ยงต่อการลุกลามของไฟ โครงสร้างที่รองรับหลังคาต้องทำด้วยวัสดุไม่ติดไฟ ใช้ไม้เนื้อแข็งได้ เมื่อวัสดุที่ใช้มุงหลังคาไม่ไวไฟ เพราะคานไม้ให้ความแข็งแกร่งโครงสร้างนานกว่าคานเหล็กเมื่อเกิดเพลิงไหม้
– วัสดุที่ใช้มุงหลังคาอาจเป็นวัสดุที่มีน้ำหนักเบาและยุบตัวได้ง่ายเมื่อเกิดเพลิงไหม้ เพื่อช่วยการระบายควันและความร้อนออกไปได้ แต่ถ้าหลังคาสร้างแข็งแรงต้องจัดให้มีช่องระบายอากาศ เพื่อให้มีการระบายควัน และความร้อนอย่างน้อย 2% ของพื้นที่หลังคา
– ช่องระบายอากาศต้องเปิดไว้ถาวรและสามารถเปิดด้วยมือ หรือเปิดได้เองเมื่อเกิดเพลิงไหม้ การระบายควันและ ความร้อนจะช่วยทำให้สามารถมองเห็นต้นตอของเพลิงและ ช่วยชะลอการลุกลามของไฟประตูกันไฟ ประตูกันไฟ จะประกอบด้วย
– ข้อลูกโซ่ชนิดหลอมละลายได้ ติดตั้งไว้เหนือของประตูด้านบน ความร้อนหรือเปลวไฟที่โหมลุกจากบริเวณที่เก็บสารเคมี จะส่งผ่านไปตามกำแพงกระตุ้นให้ข้อลูกโซ่ทำงาน
– ตุ้มถ่วง มีสายเคเบิ้ลที่ร้อยผ่านตุ้มน้ำหนักและห้ามยึดตุ้มถ่วงให้อยู่กับที่ รางเลื่อน
– ทางออกฉุกเฉินต้องทนไฟได้เช่นเดียวกับประตูกันไฟด้านในของประตูกันไฟ ต้องมีคุณสมบัติทนไฟเหมือนผนังอาคารและสามารถปิดได้โดยอัตโนมัติ เช่น มีข้อลูกโซ่ชนิดหลอมละลายได้ ซึ่งจะถูกกระตุ้นโดยอัตโนมัติจาก ระบบตรวจจับควันไฟและประตูจะปิดอัตโนมัติเมื่อเกิดเพลิงไหม้ ข้อควรระวัง ต้องมีพื้นที่ว่างเพื่อให้ปิดประตูได้ห้ามมีสิ่งกีดขวางทางออกฉุกเฉิน
– ต้องจัดให้มีทางออกฉุกเฉิน นอกเหนือจากทางเข้า-ออกปกติ การวางแผนสำหรับทางออกฉุกเฉิน ต้องพิจารณา
อย่างถี่ถ้วนถึงภาวะฉุกเฉินทั้งหมดที่อาจเกิดขึ้น สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ต้องไม่มีผู้ใดติดอยู่ในอาคารเก็บสารอันตราย
– ทำเครื่องหมายทางออกฉุกเฉินให้เห็นชัดเจนโดยยึดหลักความปลอดภัย
– ทางออกฉุกเฉินต้องเปิดออกได้ง่ายในความมืดหรือเทื่อเมื่อมีควันหนาทึบ
– ทางออกฉุกเฉิน สำหรับการหนีไฟจากบริเวณต่างๆ ต้องมีอย่างน้อย 2 ทิศทาง

การระบายอากาศ
– ต้องมีการระบายอากาศที่ดีโดยคำนึงถึงชนิดของสารเคมีทำความสะอาดที่เก็บ และสภาพการทำงานที่น่าพึงพอใจและปลอดภัย
– การระบายอากาศอย่างเพียงพอ จะเกิดขึ้นเมื่อช่องระบายอากาศอยู่ในตำแหน่งบนหลังคา หรือผนังอาคารในส่วนที่ต่ำลงมาจากหลังคา และบริเวณใกล้พื้น

การระบายน้ำ
ท่อระบายน้ำแบบเปิดไม่เหมาะสำหรับการเก็บสารเคมีที่เป็นสารพิษ เพื่อป้องกันการปนเปื้อนจากสารเคมีที่หกรั่วไหล และน้ำจากการดับเพลิงไหลลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะ ท่อระบายน้ำจากน้ำฝนต้องอยู่นอกอาคาร ท่อระบายน้ำในอาคารต้องเป็นชนิดที่ไม่ติดไฟแสงสว่างและอุปกรณ์ไฟฟ้า
– อาคารเก็บสารเคมีและวัตถุอันตรายที่มีการทำงานในเวลากลางวันและแสงสว่างจากธรรมชาติเพียงพอ ไม่จำเป็นต้องติดตั้งดวงไฟ หลักการนี้เป็นที่ยอมรับและถือปฏิบัติ เพราะลดค่าใช้จ่าย ลดการบำรุงรักษา และลดความจำเป็นที่ต้องติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดพิเศษ แต่ถ้าสภาพการทำงานที่แสงสว่างจากธรรมชาติไม่เพียงพอ ต้องปรับปรุงสภาพ แสงสว่างโดยอาจติดตั้งแผงหลังคาโปร่งใส
– ในบริเวณซึ่งต้องการแสงสว่างและอุปกรณ์อำนวยความสะดวกต่างๆ อุปกรณ์ไฟฟ้าทั้งหมด รวมทั้งสายไฟต้องติดตั้งให้ได้มาตรฐานและได้รับการบำรุงรักษาจากช่างไฟฟ้าผู้มีคุณวุฒิ
– ควรหลีกเลี่ยงการติดตั้งไฟฟ้าแบบชั่วคราว แต่ถ้ามีความจำเป็นอาจติดตั้งให้ได้มาตรฐาน
– อุปกรณ์ไฟฟ้าทั้งหมดต้องติดตั้งในตำแหน่งที่ปลอดภัยจากอุบัติเหตุที่อาจทำให้เกิดความเสียหายขึ้นได้ เช่น
การใช้ รถฟอร์คลิฟท์ขนถ่ายสินค้าหรืออุปกรณ์ต่างๆ รวมทั้งหลีกเลี่ยง การวางอุปกรณ์ไฟฟ้าหรือสายไฟฟ้าบริเวณ
ที่มีน้ำหรือพื้นที่เปียก
– อุปกรณ์ไฟฟ้าต้องต่อสายดิน และจัดเตรียมไว้อย่างเหมาะสมเมื่อมีการใช้ไฟเกินหรือเมื่อเกิดไฟฟ้าลัดวงจร
– ในอาคารเก็บสารที่ไวไฟ หรืออาจเกิดระเบิดได้ เช่น การเก็บสารตัวทำละลายชนิดวาบไฟต่ำ หรือสารที่มีคุณสมบัติเป็นฝุ่นละเอียดที่สามารถระเบิดได้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าและรถฟอร์คลิฟท์ชนิดที่ป้องกัน

การระเบิดได้
– ในอาคารเก็บสารเคมีและวัตถุอันตรายต้องจัดให้มีระบบระบายอากาศที่มีการถ่ายเทอากาศอย่างมีประสิทธิภาพ
– บริเวณที่มีการใช้อุปกรณ์ชาร์จประจุแบตเตอรี่ ควรแยกอกจากอาคารเก็บสารเคมีและวัตถุอันตรายและจัดให้มีการถ่ายเทอากาศที่ดี ทั้งนี้ควรหลีกเลี่ยงการปฏิบัติงานที่อาจก่อให้เกิดความร้อนหรือประกายไฟ ยกเว้นแต่จะมีมาตรการป้องกันเป็นการพิเศษ

ความร้อน
– โดยทั่วไปอาคารเก็บสารเคมีและวัตถุอันตรายต้องมีอากาศไม่ร้อน แต่เมื่อมีความจำเป็นต้องรักษาสภาพบริเวณที่เก็บให้ร้อน เพื่อป้องกันสารแข็งตัวนั้น การใช้ระบบความร้อนต้องเป็นแบบไม่สัมผัสความร้อนโดยตรง และเป็นวิธีที่ปลอดภัย เช่น ไอน้ำ น้ำร้อน อากาศร้อน และแหล่งให้ความร้อนนั้นต้องอยู่ภายนอกอาคารที่เก็บสารอันตรายเครื่องทำน้ำร้อนหรือท่อไอน้ำ ต้องติดตั้งในบริเวณที่ไม่ทำให้ความร้อนสัมผัสโดยตรงกับสารเคมีและวัตถุอันตราย
– ไม่ควรติดตั้งอุปกรณ์ที่ทำให้เกิดความร้อนจากไฟฟ้า หรือแก๊สหรือความร้อนจากการเผไหม้ของน้ำมัน
– การติดตั้งฉนวนกันความร้อน วัสดุที่ใช้เป็นฉนวนต้องไม่ติดไฟ เช่น ใยหิน หรือใยแก้วระบบป้องกันฟ้าผ่า

ทุกอาคารที่เก็บสารเคมีประเภทไวไฟ ต้องติดตั้งสายล่อไฟ หรืออาจยกเว้นถ้าโกดังดังกล่าวอยู่ภายในรัศมีครอบคลุมจากสายล่อฟ้าของอาคารอื่นที่อยู่ใกล้เคียงได้

ข้อกำหนดอื่นๆ
ไม่ควรสร้างสำนักงาน ห้องรับประทานอาหาร ห้องเปลี่ยนเสื้อผ้ารวมอยู่ในอาคารที่เก็บ แต่ถ้าจำเป็นเพื่อความสะดวก โครงสร้างดังกล่าวนี้ต้องแยกออกจากอาคารที่เก็บสารอันตราย และสามารถทนไฟได้นาน 60 นาทีการเก็บสารเคมีและวัตถุอันตรายนอกอาคาร

การเก็บสารเคมีทำความสะอาดและวัตถุอันตรายนอกอาคาร ต้องมีการจัดเตรียมเขื่อนป้องกันเช่นเดียวกับการเก็บสารเคมีในอาคาร และต้องมีหลังคาป้องกันแสงแดดและฝนด้วย

ข้อพิจารณาเพิ่มเติมจากการเก็บสารเคมีและวัตถุอันตรายนอกอาคาร
-สารเคมีและวัตถุอันตรายที่เก็บนอกอาคาร โดยเฉพะในประเทศที่มีอากาศร้อนต้องคำนึงถึงการเสื่อมสภาพ เนื่องจากการสัมผัสกับอุณหภูมิที่สูง จึงต้องระมัดระวังในการเลือกวิธีเก็บโดยอาศัยข้อมูลความปลอดภัย MSDS ช่วยในการพิจารณา
-เพื่อเป็นการป้องกันการปนเปื้อนสารเคมีและวัตถุอันตรายลงสู่ดินและแหล่งน้ำ บริเวณที่เก็บต้องปูพื้นด้วยวัสดุที่ทนต่อน้ำและความร้อน ไม่ควรใช้ยางมะตอย เพราะจะหลอมตัวได้ง่ายเมื่ออากาศร้อน
-บริเวณที่เป็นเขื่อนกั้นต้องติดตั้งระบบควบคุมการระบายน้ำด้วยประตูน้ำ
-สารเคมีและวัตถุอันตรายที่เก็บต้องตรวจสอบการรั่วไหลอย่างสม่ำเสมอเพื่อมิให้ปนเปื้อนลงสู่ระบบระบายน้ำ
-สารเคมีทำความสะอาดและวัตถุอันตรายที่เก็บในถัง 200 ลิตร และไม่ไวต่อความร้อน อาจเก็บไว้ในที่โล่ง แจ้งได้ แต่จะต้องมีระบบป้องกันการรั่วไหลของสารเคมีและวัตถุอันตรายเช่นเดียวกับที่เก็บในอาคาร
-แนะนำให้เก็บสารเคมีและวัตถุอันตรายในถังกลมในลักษณะตั้งตรงบนแผ่นรองสินค้าถังที่เก็บในแต่ละแบบจะต้องมีพื้นที่ว่างเพียงพอเพื่อการดับเพลิง
-สารเคมีและวัตถุอันตรายที่เป็นของเหลวไวไฟสูง แก๊ส หรือคลอรีนเหลว ควรให้เก็บนอกอาคาร

       ในชีวิตประจำวันล้วนแต่ต้องสัมผัส สิ่งต่างๆรอบตัวอยู่ตลอดเวลา ดังนั้น ความปลอดภัยของชีวิตเรา จึงขึ้นอยู่กับสิ่งที่ได้สัมผัส หากสิ่งที่ได้สัมผัสนั้น สะอาดปลอดภัย ไม่เป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรค การนำพาสิ่งสกปรกเข้าสู่ร่างการก็จะน้อยลงได้ด้วย ด้วยเหตุนี้ การมีน้ำยาทำความสะอาดพกติดตัว จึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมาก

เราควรมีการเช็ด ล้าง ทำความสะอาดสิ่งต่างๆรอบตัวอยู่ตลอด ไม่ว่าจะเป็น ชิ้นงานที่ต้องสัมผัสโดยตรง อุปกรณ์เครื่องเขียน โต๊ะ เก้าอี้ หรือแม้แต่มือของเราเอง การทำความสะอาดอยู่เป็นประจำ ก็จะติดเป็นนิสัยที่ดี และทำให้เราห่างไกลโรคด้วย หากนึกถึงว่า ความสะอาดนั้น มีความจำเป็นมากน้อยแค่ไหน ให้ลองนึกถึงอุปกรณ์ต่างๆในโรงพยาบาลดู จะพบว่า อุปกรณ์ทางการแพทย์ในโรงพยาบาลทุกชิ้น จะมีการทำความสะอาดอย่างดี บรรจุห่อเพื่อป้องกันฝุ่น พร้อมที่จะใช้งานอยู่เสมอ แล้วหากลองนึกในทางกลับกัน  ถ้าโรงพยาบาลมีแต่ความสกปรก อุปกรณ์ที่ใช้งานไม่ได้รับการทำความสะอาด มีคราบสกปรก และฝุ่นพบเห็นอยู่ทั่ว เราคงจะไม่อย่างเอาชีวิตมาเสี่ยงกับสถานที่แบบนี้เป็นแน่ใช่ไหม

 

การสงวนสิทธิ์

รายละเอียดข้างต้นได้จากการทดสอบในห้องปฏิบัติการ และจากประสบการณ์ที่ผ่านมา โดยบริษัทได้แนะนำเสนอข้อดีที่สุด เพื่อให้ลูกค้าเกิดประโยชน์สูงสุด บริษัทขอสงวนสิทธิ์ที่จะเปลี่ยนแปลงข้อมูลดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า

8 Replies to “การทำความสะอาดมีความสำคัญอย่างไร ?”

  1. สอบถามว่ามีผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดในบ้านเรือนหรือไม่ครับ?

    1. ถึงคุณ อิทธิกร
      NN Clean 100 เป็นน้ำยาสังเคราะห์ครับ ราคาขึ้นอยู่กับปริมาณการสั่งครับ สามารถติดต่อฝ่ายขายได้เลยครับ

  2. สอบถามหน่อยครับ สามารถล้างทำความสะอาดกล่องพลาสติกใส่ชิ้นงานได้หรือไม่ครับ ?
    ตอนนี้ใช้น้ำอุ่นล้างอยู่ครับ

    1. ครับผม คุณวุฒิชัย

      เราขอแนะนำ NN CLEAN W SERIES ที่ถูกออกแบบให้ล้างชิ้นงานตามวัสดุที่ครับ
      สามารถทดสอบตัวอย่างจากพื้นที่ฝ่ายขายที่แนะนำได้เลยครับผม

  3. น้ำยาล้างคราบน้ำมันทำไมต้องมี astm ด้วยครับ?

    1. ครับคุณทรงสิทธิ์ น้ำยาล้างเป็นประเภทของสารหล่อลื่นชนิดหนึ่งมีโดย astm เป็นมาตรฐานควบคุมคุณภาพของน้ำยาล้างครับผม

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *